Experimental learning เป็นการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ใช้ประสบการณ์จริงหรือการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้ความรู้หรือทักษะต่างๆ มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าคนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์ตรง และประสบการณ์เหล่านี้จะมีความหมายและน่าจดจำมากขึ้นเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าอิน) การเรียนรู้แบบ Experimental learning มีได้หลายรูปแบบ เช่น การทำทดลอง การฝึกทำโจทย์ การศึกษานอกสถานที่ เป้าหมายของ Experimental learning คือการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้คอนเซปที่สร้างขึ้นมาในหัวในโลกความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและจดจำเนื้อหาได้ยาว
ขั้นตอนของการเรียนแบบ Experimental learning มีอยู่ 4 ข้อ สั้นๆ ด้วยกันคือ
Concrete experience: นี่คือขั้นตอนแรกของวงจรที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในสถานการณ์หรือกิจกรรมใหม่หรือที่ท้าทาย ขั้นนี้เป็นสื่อการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ดังนั้นการจะทำการตอนนี้ให้ดีคือการจะต้องนำตนเองไปอยู่ในสถาณการณ์ที่สามารถให้ประสบการณ์เรียนรู้ที่ดี
Reflective observation: หลังจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้เรียนจะสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่สังเกตเห็น ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการทบทวนประสบการณ์ การสังเกตว่าอะไรได้ผลดี อะไรสามารถทำได้แตกต่างออกไป และสิ่งที่ได้เรียนรู้
Abstract conceptualization: ในขั้นนี้ ผู้เรียนใช้การสังเกตและการสะท้อนจากขั้นที่แล้ว และใช้แนวคิดทางทฤษฎีและลักษณะทั่วไปเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
Active experimentation: ขั้นตอนสุดท้ายของวัฏจักรเกี่ยวข้องกับการนำสิ่งที่เรียนรู้ผ่านขั้นตอนก่อนหน้าไปใช้ ผู้เรียนนำแนวคิด ทฤษฎี และแนวคิดใหม่ไปสู่การปฏิบัติและทดสอบความถูกต้องผ่านประสบการณ์จริงเพิ่มเติม
จากนั้นวงจรนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ หากผู้เรียนยังคงมีได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และต่อยอดจากสิ่งที่เคยได้เรียนรู้ในรอบก่อนหน้า วัฏจักรนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนก็เองก็จะเชี่ยวชาญขึ้นเรื่อยๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการเรียน เช่น วิชาฟิสิกส์
Concrete experience: เริ่มต้นด้วยการทดลองในห้องปฏิบัติการ การจำลองสถานการณ์ การได้เห็นอาจารย์ทำโจทย์ตัวอย่าง การได้เรียนทฤษฎี สูตรต่างๆ หากได้เห็นอาจารย์ที่สอนดี มีแนวคิดในการทำโจทย์ที่ดูฉลาดก็จะยิ่งส่งผลดี
Reflective observation: หลังจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้เรียนจะต้องสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่สังเกตเห็น ลองทบทวนประสบการณ์ สังเกตว่าอะไรได้ผลดี ได้ผลไม่ดี อะไรสามารถทำได้และผลที่ออกมาแตกต่างออกไปอย่างไร หรือลองคิดว่าสิ่งที่ได้เห็นมาจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
Abstract conceptualization: ในขั้นนี้ ผู้เรียนจะต้องลองเอาสิ่งที่เรียนมา ตัวอย่างเช่นสูตรต่างๆ มาสร้างเป็นคอนเซปว่าสูตรแบบนี้จะต้องใช้กับโจทย์แบบนี้ ใช้งานอย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้างที่จำเป็นในการจะใช้งานสูตรนี้
Active experimentation: ขั้นตอนสุดท้ายของวัฏจักรเกี่ยวข้องกับการนำสิ่งที่เรียนรู้ผ่านขั้นตอนก่อนหน้าไปใช้ นำแนวคิด ทฤษฎี ไปสู่การทดลองทำจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำข้อสอบ การทำโจทย์ การทดลองในห้องแลป เป็นต้น ทดลองว่าคอนเซปที่คิดมาจากข้อที่ 3 มันเวิร์คหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องลองอ่านเฉลย จากนั้นก็จะเป็นการวนกลับไปในข้อ 1 ใหม่ ปรับแต่งแก้คอนเซปในหัว แล้วทดลองทำอีกรอบ
วงจรนี้จะดำเนินต่อไปหากผู้เรียนได้มีการเรียน การสังเกตและฝึกทำโจทย์ ข้อสอบอยู่เรื่อยๆ ผลก็คือนักเรียนคนนั้นจะเก่งขึ้นไปเรื่อยๆในทุกรอบที่วงจรนี้เกิดขึ้น ใครสนใจลองนำวิธีนี้ไปใช้ในการเรียนดูครับ ถามตัวเองเสมอว่าสิ่งที่เราเรียนไปคืออะไร และจะนำไปใช้อย่างไรน กับโจทย์แบบไหนแล้วลองฝึกทำโจทย์ ข้อสอบดูครับ ยิ่งฝึกมากก็จะยิ่งเก่งมาก วิธีนี้สร้างเด็กที่เริ่มต้นจากคนธรรมดากลายเป็นเด็กที่เก่งและฉลาดมากๆ มาแล้วหลายต่อหลายคน หวังว่าน้องๆจะลองเอาวิธีนี้ไปลองใช้เรียนกันดูครับ